THE IMMUNE LAB

ประวัติการวิจัยของเบต้ากลูแคน

ประวัติการวิจัยเบต้ากลูแคน (จากอดีต – ปัจจุบัน)

การเริ่มต้นของงานวิจัยเบต้ากลูเคน

           แต่ในขณะนั้น ดร.พิวลีเมอ ไม่ทราบว่าส่วนใดของยา Zymosan ที่ทำให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าว และต่อมา ยา Zymosan นี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นยาอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป ซึ่งตอนนั้นตัวยา Zymosan มีราคาแพงมาก และยังเกิดมีผลข้างเคียงมาก เนื่องจากยังไม่บริสุทธิ์เพียงพอ พบว่ามีโปรตีนจากยีสต์ที่ปนเปื้อนมาด้วยก่อให้เกิด อาการแพ้ (Allergy) จนคนไข้ส่วนใหญ่ทนยาไม่ได้

             ประวัติการวิจัยของเบต้า กลูแคน เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1940 (พ.ศ.2483) เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ดร. หลุยส์ พิวลีเมอ (Louis Pillemer, Ph.D) ได้ศึกษาตัวยาผสม (Crude Mixture) ซึ่งมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ ซึ่งมีส่วนประกอบประเภท โปรตีน ไขมัน และแป้ง โดยเรียกตัวยาผสมนี้ว่า ไซโมซาน (Zymosan) และได้รายงานสรรพคุณไว้ว่าเป็นตัวยาที่สามารถเพิ่มอำนาจภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างไม่จำเพาะเจาะจงนั่นคือ ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและมะเร็ง

การค้นพบเบต้ากลูแคนบริสุทธิ์

              ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ดร.นิโคลัส ไดลซิโอ (Nicholas Di-Luzio, Ph.D) จากมหาวิทยาลัยทูเลน (Tulane University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยขยายผลจนพบว่าสารซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิต้านทานให้เข้มแข็งที่อยู่ในยา Zymosan นั่นก็คือ เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) ซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคสเชิงเดี่ยว มีโมเลกุลเป็นรูปวงแหวนมาต่อกันเป็นเส้นตรงยาว ซึ่งเรียก กลูแคน (Glucan) และ เบต้ากลูแคนที่ดร.ไดลูซิโอ ค้นพบนั้นไม่มีผลทางด้านลบ เหมือนกับการใช้ยา Zymosan กล่าวคือ การใช้ยาเบต้ากลูแคนนั้นไม่พบผู้ใช้มีอาการข้างเคียงเลย เพียงแต่ว่ายังมีราคาแพงมาก ทำให้เหมาะสำหรับซื้อไปใช้ทำงานวิจัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เบต้ากลูแคนกับการรักษามะเร็ง

               บทบาทของเบต้ากลูแคนได้จุดกระแสความมีประสิทธิภาพทางยาขึ้นในปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) โดยนายแพทย์ ปีเตอร์ แมนเซล (Peter W Mansell, MD.) ได้เขียนผลการศึกษาลงในวารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยอธิบายถึงการฉีด Beta 1,3 D Glucan เข้าไปในก้อนเนื้องอกมะเร็งผิวหนัง (Melanoma) ของคนไข้ 9 คน พบว่า ขนาดของมะเร็งหดเล็กลงอย่างรวดเร็วภายในเวลา 5 วันและถ้าเป็นก้อนเล็กๆ จะหายไปอย่างสมบูรณ์

                หลังจากนายแพทย์แมนเซลได้ประกาศความสำเร็จของการใช้ เบต้ากลูแคน ชนิด 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) รักษามะเร็งผิวหนัง นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ พากันตื่นตัว มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง หลายแห่งได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อความคืบหน้า เพราะมันเป็นรายงานจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา (National Cancer institute, NCI) ซึ่งเชื่อถือได้ แต่ในเวลานั้นยังเป็นการใช้งานในลักษณะของโครงการวิจัยมากกว่าการนำไปใช้ทางธุรกิจ เพราะการสกัดเอาเบต้ากลูแคนออกมาในขณะนั้นยังทำได้ยาก และต้องใช้เครื่องมือซึ่งมีแรงกดสูง เพื่อให้ผนังเซลล์ยีสต์แตกราคาจึงแพงมากเกินไป ประกอบกับชนิดของมะเร็งที่รักษาก็คิดว่ายังเป็นเพียงมะเร็งผิวหนังเท่านั้น

การค้นพบการทำงานของตัวรับเบต้ากลูแคนในเซลล์เม็ดเลือดขาว

            ในทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) มีงานวิจัยสำคัญที่ควรนำมากล่าวถึง ซึ่งสร้างประกายแห่งความมหัศจรรย์ทางเภสัชวิทยาให้กับเบต้ากลูแคนคือ การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard University) ที่นำโดย ดร.จอยซ์ ซอพ (Joyce K Czop, Ph.D) และคณะได้รับรายงานถึงการค้นพบตำแหน่งบนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ (Macrophage) ซึ่งจะจับกับ เบต้ากลูแคน ได้อย่างแม่นยำ และเฉพาะเจาะจงเปรียบเหมือนลูกกุญแจเข้าได้ อย่างพอดี ตำแหน่งดังกล่าวเป็นกลุ่มของโมเลกุลโปรตีนที่สร้างพื้นที่บนผิวของเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ ชื่อแมคโครฟาจ Machophage พื้นที่ดังกล่าวมีรูปร่างขนาด 1-2 ไมครอน โดยมีความเหมาะสม พอดิบพอดี กับเบต้ากลูแคนเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า “ตัวรับที่เฉพาะ” (Specific Receptor) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dentin-1 (เดนตินหนึ่ง)

เบต้ากลูแคนกับการช่วยผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง

           ยุคกลางทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทูเลน (Tulane University of Medicine) ได้มีการรายงานว่า มีการฉีดสารเบต้ากลูแคนโดยตรงเข้าไปที่แผลที่ผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม (และยังถูกรักษาด้วยวิธีการฉายแสงด้วย) ผลที่ได้คือ แผลที่ผ่าตัดได้หายสนิทดี

           นอกไปจากนี้ในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) กลุ่มนักวิจัยจาก สถาบันวิจัยรังสีวิทยาของหน่วยทหารของอเมริกา (U.S. Armed Forces Radiobiology Research Institutes) ได้ทำการวิจัยเรื่องเบต้ากลูแคนสามารถปกป้องการรับรังสีได้ โดยทดลองกับหนูที่ถูกให้รังสีขั้นรุนแรง โดยหนูทุกตัวจะได้รับสารเบต้ากลูแคนทางการกิน 70% ของหนูที่ได้รับเบต้ากลูแคนสามารถมีชีวิตอยู่รอดและฟื้นจากความเสียหายของเซลล์หลังจากรับรังสีขั้นรุนแรงมา จากการทดลองนี้ ทีมนักวิจัยได้แนะนำว่า สารสกัดเบต้ากลูแคนเป็นสารสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน และ ปกป้องจากการติดเชื้อต่างๆ หลังจากการรักษาด้วยวิธี เคมีบำบัด หรือ ฉายแสง สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง อีกทั้งยังแนะนำว่าสารเบต้ากลูแคนนั้นทำงานเปรียบเสมือน สารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยปกป้องเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ จากการทำลายโดย การฉายแสง สารพิษต่างๆ โลหะหนักต่างๆ และ อนุมูลอิสระ

เบต้ากลูแคนช่วยต่อสู้กับโรคติดเชื้อต่างๆและลดการใช้ยาแก้อักเสบ

             จากงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์แสดงให้เห็นว่า สารเบต้ากลูแคนนั้นสามารถลดปริมาณการใช้ยาแก้อักเสบจากแผลผ่าตัดและการติดเชื้อต่างๆได้ โดยการทดลองใช้ในหนูพบว่า หนูที่มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยเบต้ากลูแคนควบคู่กับการใช้ยาแก้อักเสบจะเพิ่มการมีชีวิตรอดอีก 56 %
ในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) นายแพทย์ วิลเลียม บราวน์เดอร์ (William Browder, M.D.) จากมหาวิทยาลัยทูเลนได้ทำการศึกษากับคนไข้จำนวน 21 ราย ที่มีแผลจากการผ่าตัด โดยคนไข้ทั้งหมดนี้ได้รับสารเบต้ากลูแคนด้วยการฉีดทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นายแพทย์ บราวน์เดอร์ พบว่า การติดเชื้อของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลดลงอย่างมาก ซึ่งมีเพียง 9.5 % ที่มีผลของการติดเชื้อ และถ้าเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับสารเบต้ากลูแคนจะมีประมาณ 49% ที่ติดเชื้อ

การค้นพบว่าการทานให้ประสิทธิภาพสูง – จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

              ถึงแม้ว่าการทดสอบเบต้ากลูแคนในยุคแรกๆ จะใช้วิธีการฉีดเป็นส่วนมาก ในปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ดร. ฟิล วายด์ จากวิทยาลัยการแพทย์เบเยอร์ (Bayor College of Medicine) ยืนยันว่าการให้สารเบต้ากลูแคนกับผู้ป่วยโดยการกินนั้นมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการให้เบต้ากลูแคนด้วยวิธีการฉีด งานวิจัยนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตเบต้ากลูแคนมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลยก็ว่าได้ โดยในเวลาต่อมาก็มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเบต้ากลูแคนเกิดขึ้นเพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคในประเทศอเมริกา

ความสำเร็จ Clinical Test ของความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง

              นายแพทย์ โดนัลด์ แครโรว์ (Donald Carrow, M.D.) ได้ทำการทดสอบกับคนไข้ที่รับการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งการทดสอบนี้สามารถถือได้ว่าเป็น Clinical Tests นายแพทย์แคร์โรว์ได้ทำการทดลองกับคนไข้ในหลายกรณี เช่น มะเร็ง แผลเรื้อรัง การบำรุงสุขภาพ

              นายแพทย์ แคร์โรว์ ได้ฉีด สารเบต้ากลูแคน ปริมาณ 10 มิลลิกรัม เข้าไปในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผิวหนัง ในระยะเวลา 3 เดือน เนื้องอกที่คิดว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนังนั้นหายไป และยังมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ที่รักษามะเร็งเต้านมด้วยการฉายรังสีที่ได้รับสารเบต้ากลูแคน ปริมาณ 7.5 มิลลิกรัมทุกวัน ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยทั้งหมดไม่มีการแพ้ หรือ อาการข้างเคียงทางผิวหนังเลยและนอกไปจากนี้ นายแพทย์แคร์โรว์ ยังได้ทดลองให้สารเบต้ากลูแคนกับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่คิดว่าจะเป็นมะเร็ง ระยะเวลา 2 เดือน ผลปรากฏว่าเนื้องอกนั้นหายไป จากการทดสอบนี้ ดร.แคร์โรว์สรุปได้ว่า สารเบต้ากลูแคนนั้นเป็นสารสกัดธรรมชาติที่สามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว แมคโครฟาจ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาโรคที่ติดเชื้อจากเชื้อรา

                จากงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า เบต้ากลูแคนนั้นสามารถช่วยในการรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี นักวิทยาศาสตร์ที่ University of Sao Paulo ประเทศบราซิล ได้ทดสอบความสามารถเพิ่มเติมของเบต้ากลูแคนในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อทางผิวหนังจากเชื้อรา การทดลองนี้ได้ทำการทดสอบผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังจากเชื้อรา จำนวน 18 ราย โดยแบ่งคนไข้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน การทดสอบนี้ทำโดย ฉีดเบต้ากลูแคนให้ผู้ป่วยในกลุ่มแรก ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน และหลังจากนั้น ฉีดให้ทุกเดือนเป็นเวลา 11 เดือน และให้ทานยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราควบคู่ไปด้วย และ กลุ่มที่ 2 ให้แต่ยารักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราอย่างเดียว ผลการทดสอบปรากฏว่า ผู้ป่วยจากกลุ่มแรกที่ได้รับสารเบต้ากลูแคนควบคู่กับการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อมีเพียงคนเดียวที่มีอาการทรุดลง นอกจากนั้นอีกทั้ง 8 คน หายดีและไม่พบการติดเชื้อหลงเหลืออยู่เลย ในขณะที่ผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับสารเบต้ากลูแคน 5 คนจาก 9 คน มีอาการทรุดลง

การวิจัยเบต้ากลูแคนในปัจจุบัน

               ปัจจุบัน มีหน่วยงานวิจัยต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะจาก มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำของโลก สนับสนุนประสิทธิภาพในการเสริมภูมิคุ้มกันของเบต้ากลูแคน เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยทูเลน มหาวิทยาลัยดิ๊ก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันฯลฯ พร้อมทั้งยังมีเอกสารทางวิชาการมากกว่า 1,000 รายงาน มีผลการศึกษาค้นคว้า ซึ่งรับรองคุณภาพของเบต้ากลูแคน ว่าช่วยภูมิต้านทานทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด เบต้า 1,3/1,6 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) ที่สกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ขนมปัง

               ในช่วงที่มีโรคระบาด โควิด-19 ประเทศในฝั่งเอเชีย ยุโรป และ อเมริกา* ก็ได้มีงานวิจัยที่สนับสนุนการใช้สารเบต้ากลูแคนมาทาน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันใช้ในการป้องกันและรับมือกับสถานการณ์โรคระบาคโควิด 19 โดยในงานวิจัยของศูนย์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) แนะนำว่าเบต้ากลูแคนที่สกัดจากผนังเซลล์ยีสต์สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อและยังช่วยลดการเกิดพายุไซโตไคน์ (Cytokine Strom) โดยไซโตไคน์ที่พบมีทั้งชนิดก่อการอักเสบและชนิดต้านการอักเสบ ซึ่งไซโตไคน์เหล่านี้พบได้ในโรคภูมิต้านตนเอง (เช่นในโรครูมาตอยด์) และเป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังแนะนำให้ทานเบต้ากลูแคนร่วมกับวิตามินซีและวิตามินดี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิดนี้

              ทางฝั่งเอเชียมีงานวิจัยที่เป็น Pilot Study ในประเทศอินเดียโดยใช้สารเบต้ากลูแคนร่วมกับการใช้การรักษาปัจจุบัน พบว่า การใช้สารเบต้ากลูแคนร่วมด้วย จะช่วยลดการเกิดภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (coagulopathy) และพายุไซโตไคน์ (cytokine storm) ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ได้

               นอกจากนี้ในงานวิจัยที่ มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ ประเทศอเมริกา และ จากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ของญี่ปุ่นและเกาหลี ได้มีการอธิบายถึงการทำงานของสารเบต้ากลูแคนที่สามารถเข้าไปทำงานกับตัวรับเดคติน-1 (Dectin-1) ของเม็ดเลือดขาวชนิด แมคโครฟาจ (macrophage) และ เดนตริตริก เซลล์ (Dentritic Cell) รวมทั้งตัวรับ CR3 ของ เม็ดเลือดขาวชนิด นิวโทรฟิล (Neutrophil) และ เอน เค เซลล์ (NK Cell) เพื่อไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรค รวมทั้งไปกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวตัวอื่นๆ เพื่อช่วยลดการติดเชื้อไวรัส และช่วยลดอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้

               อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่เป็นการคาดการณ์ทางวิชาการว่าจะสามารถใช้เบต้ากลูแคนเป็นสารเสริมฤทธิ์ของวัคซีนโควิดได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน ต่อเชื้อ COVID-19 เนื่องจากการทำงานของเบต้ากลูแคนจะไปช่วยให้เม็ดเลือดขาวกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีการนำไปใช้จริงและได้ตีพิมพ์เป็นวารสารทางวิชาการ ในการใช้เป็นเป็นสารเสริมฤทธิ์ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดอาการต่างๆจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีอีกด้วย

                จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สารเบต้ากลูแคนนั้นสามารถใช้เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ร่วมรักษากับโรคต่างๆที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้ดี โดยการทำงานของเบต้ากลูแคนจะเป็นการปรับความสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันผ่านการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้มากเกินไปเหมือนกับกลุ่มที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกัน (Immune Booster) เพียงอย่างเดียว เพียงแต่เบต้ากลูแคนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีหลายสายพันธุ์จำแนกได้ตามแหล่งที่มาของวัตถุดิบ สายพันธุ์ที่ใช้ รวมทั้งกระบวนการผลิต ดังนั้นการเลือก สายพันธุ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่จะใช้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

                ผลิตภัณฑ์ IMMUNE LAB® เบต้ากลูแคนนั้น กัดจากสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยในมนุษย์ ถูกผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ผ่านมาตราฐาน GMP for Medical Products ซึ่งทำให้มีความบริสุทธิ์สูง (85-95%) มีโครงสร้างโมเลกุลที่ถูกต้อง สายพันธุ์ 1,6 ยาวต่อเนื่อง 6 โมเลกุล และมีความถี่สูง อีกทั้งยังมีขนาดอนุภาคที่เล็ก 1-2 ไมครอน ผ่านการตรวจสอบมาตราฐานและจดแจ้ง กับ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานคณะกรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (ฮาลาล) เพื่อทำให้เรามั่นใจในคุณภาพในการผลิตว่า ไม่มีสารเจือปนจากโลหะหนัก และ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ติดมาในผลิตภัณฑ์ เพื่อพร้อมที่จะแบ่งปันสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภค

เอกสารอ้างอิง
1. Alfredo Córdova-Martínez et al. B -Glucans Could Be Adjuvants for SARS-CoV-2 Virus Vaccines (COVID-19). International Journal of Evironmental Research and Public Health 2021, 18, 12636.
2. Anne G. and Jun Y. Could the Induction of Trained Immunity by B-Glucan Serve as a Defense Against COVID-19? Frontiers in Immunology.2020, 11:1782.
3. CNRS. How to boost the immune defense prior to respiratory virus infections with the special focus on coronavirus infections. 2020, 12:47.
4. https;// doi.org/10.1101/2021.08.09.21261738
5. Ionut A., Sonai A. and Forin-Vasile U., Bioactive B-Glucans, adjuvants in SARS-CoV-2 Antiviral. Therapy Biomedical Journal of Scientific & Technical Research. ISSN 2574-1241.
6. Kosagi-Sharaf Rao et al. Role of Immune Dysregulation in Increase Mortality Among a Specific Subset of COVID-19 Patients and Immune-Enhancement Strategies for Combatting Through Nutritional Supplements. Frontiers in Immunology. 2020, 11:1548.
7. Nobunao I. et al. B-Glucans: wide-spectrum immune-balancing food-supplement-based enteric vaccine adjuvant approach to COVID-19. Human Vaccines & Immunotherapeutic, 2021.

error: IMMUNE LAB