THE IMMUNE LAB

ชนิดและแหล่งที่มาของเบต้ากลูแคน

เบต้ากลูแคนเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (คือ คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ จึงไม่สามารถย่อยเป็นแป้งหรือน้ำตาลได้) ซึ่งสามารถสกัดได้มาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแหล่งในธรรมชาติ เช่น เห็ด (เห็ดหลินจือ เห็ดชิตาเกะ และเห็ดไมตาเกะ) ข้าวบาร์เลย์ ยีสต์ ข้าวโอ๊ต สาหร่ายทะเล และ โสม เป็นต้น แต่แหล่งสำคัญที่นิยมได้แก่ เห็ด ข้าวบาร์เลย์ ยีสต์ และข้าวโอ๊ต ซึ่งแต่ละแหล่งมีความแตกต่างในประสิทธิภาพที่มีต่อสุขภาพ

ในเชิงวิทยาศาสตร์นั้น เบต้ากลูแคนคือ น้ำตาลกลูโคสเชิงเดี่ยว มีโมเลกุลเป็นรูปวงแหวนมาต่อกันเป็นเส้นตรงยาว ซึ่งเรียก Glucan โดยโมเลกุลในแต่ละห่วงกลูโคสตัวต้นจับกับห่วงของกลูโคสตัวถัดไปที่ตำแหน่งคาร์บอนต่างๆ กันแล้วแต่ชนิด การเชื่อมของโมเลกุลน้ำตาลกลูโคสตัวถัดไปกับกลูโคสด้วยกัน มีชื่อว่า Glycoside Linkage คำว่า เบต้า (Beta หรือย่อว่า B) หมายถึง หางของ OH (Hydroxyl) ชี้ขึ้นข้างบนจากแนว

โครงสร้างโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส

(  C คือ อะตอมของคาร์บอน และตัวเลขที่กำกับอยุ่คือลำดับของคาร์บอนในโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส )

ชนิดของเบต้ากลูแคนนั้นสามารถแบ่งออกตามโครงสร้างของโมเลกุลที่แตกต่างกัน และความแตกต่างของโครงสร้างเบต้ากลูแคนแต่ละชนิดสามารถดูได้จาก เรื่องของพันธะ ความยาวของสายหลักและสายแขนง อัตราส่วนของการแตกแขนง แต่ที่เราสามารถแบ่งกลุ่มอย่างง่ายๆ คือ การดูจากพันธะที่จับกัน ของแต่ละชนิดซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

     1. แบคทีเรียและสาหร่ายจะเป็นสายยาวต่อกันด้วยพันธะ เป็นสายหลักไม่มีแขนงต่อออกไปด้านข้าง กล่าวคือ คาร์บอนตัวที่ 1 ของโมเลกุลกลูโคสตัวต้นจับกับคาร์บอนตัวที่ 3 ของกลูโคสตัวถัดไปต่อกันเป็นสายยาว และไม่มีการต่อแขนงออกด้านข้างเลย เราเรียกเบต้ากลูแคนชนิดนี้ว่า เบต้า 1,3 กลูแคน

     2. ยีสต์ เห็ด และ รามีสายหลักที่ต่อกันด้วยพันธะ 1,3 และมีสายแยกแขนงต่ออกไปด้านข้างด้วยพันธะ 1,6 กล่าวคือ คาร์บอนตัวที่ 1 ของโมเลกุลกลูโคสตัวต้นจับกับ คาร์บอนตัวที่ 3 ของกลูโคสตัวถัดไปต่อกันเป็นสายยาวซึ่งเป็นสายหลัก และ มีสายรองหรือเป็นแขนงออกด้านข้าง โดยที่ คาร์บอนตัวที่ 1 ของสายแขนงนั้นจะมาจับกับคาร์บอนตัวที่ 6 ของสายหลัก เราเรียกเบต้ากลูแคนชนิดนี้ว่า เบต้า1,3 1,6 กลูแคน หรือ เบต้า 1,3 D กลูแคน

รูปแสดงลักษณะโครงสร้างโมเลกุลของเบต้ากลูแคน

พันธะ 1,3/1,6 หรือ Beta 1,3 D Glucan (สกัดจาก ยีสต์ รา และ เห็ด)

         3.ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์ มีสายหลักที่ต่อกันด้วยพันธะ 1,4 และมีสายแขนงต่ออกไปด้านข้างด้วยพันธะ 1,3 กล่าวคือ คาร์บอนตัวที่ 1 ของโมเลกุลกลูโคสตัวต้นจับกับ คาร์บอนตัวที่ 4ของกลูโคสตัวถัดไปต่อกันเป็นสายยาวซึ่งเป็นสายหลัก และ มีสายรองหรือเป็นแขนงออกด้านข้าง โดยที่คาร์บอนตัวที่ 1 ของสายแขนงนั้นจะมาจับกับ คาร์บอนตัวที่ 3 ของสายหลัก เราเรียกเบต้ากลูแคนชนิดนี้ว่า เบต้า 1,3/1,4 กลูแคน

รูปแสดงลักษณะโครงสร้างโมเลกุลของเบต้ากลูแคน

พันธะ 1,3/1,4 (สกัดจาก ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์)

แหล่งที่มาของเบต้ากลูแคนที่ใช้กันในผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดสามารถแบ่งออกเป็น 4 แหล่งที่สำคัญ ดังนี้

รูปแหล่งที่มาของเบต้ากลูแคน (ที่นิยมใช้)

  1.  ข้าวบาร์เลย์ เป็นแหล่งของใยอาหาร ซึ่งเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร จึงไม่ให้พลังงาน และช่ วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ
  2.  เห็ด ผลงานวิจัยชี้ว่า กลูแคนที่ได้มาจากเห็ด ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แต่มีประสิทธิภาพสู้ที่ได้มาจากยีสต์ไม่ได้
  3.  ข้าวโอ๊ต เป็นแหล่งของใยอาหาร ซึ่งเป็นส่วนผนังเซลล์ที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร จึงไม่ให้พลังงาน ช่วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ และมีผลดีต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับสุขภาพของหัวใจ
  4. ยีสต์ทำขนมปังสามารถใช้ปรับและกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้ป้องกันโรคติดเชื้อจากจุลชีพต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญคือลดระดับ น้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด ทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งตัวมันเองเป็นใยอาหารจึงช่วยในเรื่องของระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย เบต้ากลูแคนที่สกัดจากยีสต์ขนมปังนี้เป็นชนิดที่มีการนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยมากที่สุด และ “ให้ผลดีมากที่สุดในบรรดาแหล่งของเบต้ากลูแคนทั้งหมด”

หมายเหตุ มีการศึกษาการใช้ยีสต์ทำสุรา และยีสต์ดำมา ใช้ในการผลิตเบต้ากลูแคน แต่ยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องภูมิคุ้มกันได้เท่ากับเบต้ากลูแคนที่สกัดจากยีสต์ขนมปัง นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยที่มาใช้ในมนุษย์หรือในการร่วมรักษาโรคต่าง ๆ เหมือนที่มีในสายพันธุ์ของยีสต์ขนมปัง

ตารางลักษณะโครงสร้างเบต้ากลูแคนชนิดต่าง ๆ

         อย่างไรก็ตาม ถ้าเบต้ากลูแคนจากแหล่งต่าง ๆ มีวิธีการผลิตที่ถูกต้อง แต่ละชนิดให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้เฉพาะอย่าง จากผลการศึกษาวิจัยจาก มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำของโลกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยทูเลน มหาวิทยาลัยดิ๊ก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันฯลฯ พร้อมทั้งยังมีเอกสารทางวิชาการมากกว่า 1,000 รายงาน มีผลการศึกษาค้นคว้า ซึ่งรับรองคุณภาพของเบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ว่า ช่วยระบบภูมิต้านทานทั้งสิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเบต้ากลูแคนชนิด เบต้า 1,3/1,6 กลูแคน (Beta 1,3/1,6 Glucan) ที่สามารถสกัดได้จากยีสต์ขนมปัง จะมีประสิทธิภาพต่อร่างกายมนุษย์สูงที่สุด จึงสามารถระบุได้ว่า เป็นสารที่สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยค้นพบมา

error: IMMUNE LAB